Shop.Mattel.com Trend Times Toy Store
MattelShop.com Diablo 3 Banner EN 468x60 V3 MMOGA Christmas Raffle Banner 468x60 DE
masseffect3_468x60_de_1010055 Shop.Mattel.com
Buy WoW Gold Shop.Mattel.com
MMOGA Christmas Raffle Banner 468x60 EN CoD Ghosts MMOGA 468x60
Buy WoW Gold GamersGate Download games for PC and Mac now
GamersGate Download games for PC and Mac now   Buy WoW Gold

ความหมายทฤษฎี​เกม​ส์


        ทฤษฎี​เกม​ส์ ​(game theory )หมาย​ถึง​ คณิต​ศาสตร์​ประยุกต์​ที่​ศึกษา​เกี่ยว​กับ​สถาน​ ​การณ์​ขัด​แย้ง​ที่​มี​ผู้​เล่น​หลาย​ฝ่าย​ ​แต่​ละ​ฝ่าย​พยายาม​แสวง​หา​ผล​ตอบ​แทน​ให้​ได้​มาก​ที่​สุด​ ​ผู้​เริ่ม​ศึกษา​ทฤษฎี​เกม​ใน​ระยะ​แรก​คือ​ ​นัก​คณิต​ศาสตร์​ชื่อ​ ​จอ​ห์น ​ฟอน​ ​นอ​ยม​ันน์ (John Von Neumann) ​และ​ออ​สกา​ร์ ​มอ​ร์​เกิน​ส​เต​ิร์น (Oskar Morgenstern) ​ได้​ตี​พิมพ์​ตำรา​ทฤษฎี​เกม​และ​พฤติกรรม​เศรษฐกิจ​ (Theory of Games and Economic Behavior) ​ใน​ ค.ศ. ๑๙๔๔
​ต่อม​า​ใน​ ค.ศ. ๑๙๙๔ ​จอ​ห์น ​เอ​ฟ. แนช (John F. Nash) ​นัก​คณิต​ศาสตร์​ชาว​อเมริกัน​ ​ได้​พัฒนา​การ​ศึกษา​ใน​ด้าน​นี้​ ​โดย​สามารถ​ใช้​ทฤษฎี​เกม​อธิบาย​ถึง​ปรากฏ​การณ์​ต่าง​ ๆ ​ไม่​ว่า​จะ​ยุ่ง​เหยิง​หรือ​สลับ​ซับ​ซ้อน​เพียง​ใด​ ​ย่อม​สามารถ​นำ​ ​ไป​สู่​จุด​สมดุล​ได้​ ​ซึ่ง​ใน​ทาง​เศรษฐศาสตร์​ ​ได้​มี​ ​การ​นำ​ทฤษฎี​เกม​มา​ช่วย​การ​ตัด​สิน​ใจ​หลาย​ ๆ ​ด้าน​ ​เช่น​ ​การ​ต่อ​รอง​ ​ผล​ประโยชน์​ ​การ​ประมูล​ ​การ​แข่ง​ขัน​ของ​ผู้​ผลิต​ ​การ​รวม​กลุ่ม​ทาง​เศรษฐกิจ​ ​โดย​ใช้​แนว​คิด​เรื่อง​จุด​สมดุล​แบบ​แนช (Nash equilibrium) ​ทฤษฎี​เกม​ได้​อธิบาย​รูป​แบบ​ของ​เกม​ไว้​หลาก​หลาย​ ​เช่น​ ​เกม​แบบ​ครอบ​คลุม​ ​ซึ่ง​เป็น​เกม​ที่​ผู้​เล่น​แต่​ละ​คน​ตัด​สิน​ใจ​เลือก​ทาง​เลือก​ต่าง​ ๆ ​ตาม​ลำดับ​ ​โดย​ผู้​เล่น​จะ​ทราบ​ถึง​การ​ตัด​สิน​ใจ​ของ​ผู้​เล่น​อีก​ฝ่าย​ใน​การ​เล่น​เกม​ก่อน​หน้า​ ​เช่น​ ​การ​เล่น​หมาก​รุก​ ​เกม​รูป​แบบ​ปรกติ​เป็น​เกม​ที่​ผู้​เล่น​ไม่​ทราบ​ถึง​การ​ตัด​สิน​ใจ​ของ​ผู้​เล่น​คน​อื่น​ ​ซึ่ง​มัก​จะ​ใช้​ใน​กรณี​ที่​มี​ผู้​เล่น​ ๒ ​คน​ ​เช่น​ ​เกม​ร่วม​มือ​และ​เกม​ไม่​ร่วม​มือ​ ​เกม​สมมาตร​และ​เกม​ไม่​สมมาตร​ ​เกม​ผล​รวม​เป็น​ศูนย์​ ​และ​เกม​ผล​รวม​ไม่​เป็น​ศูนย์​
​เกม​ส่วน​มาก​ที่​นัก​ทฤษฎี​เกม​ศึกษา​มัก​จะ​เป็น​เกม​ผล​รวม​ไม่​เป็น​ศูนย์​ ​เนื่อง​จาก​ใน​ความ​เป็น​จริง​ผลลัพธ์​ที่​ได้​ไม่​จำ​เป็น​ต้อง​คง​ที่​เสมอ​ไป​ ​ขึ้น​อยู่​กับ​แนว​ทาง​การ​ตัด​สิน​ใจ​ของ​แต่​ละ​ฝ่าย​ ​ดัง​นั้น​การ​ได้​รับ​ผล​ตอบ​แทน​มาก​ที่​สุด​จึง​ไม่​จำ​เป็น​ต้อง​ทำ​ให้​ฝ่าย​ตรง​ข้าม​ได้​ผล​ตอบ​แทน​น้อย​ที่​สุด​.


​จินดา​รัตน์​ ​โพธิ์​นอก​
www.dailynews.co.th